นาฏศิลป์ไทย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhZlOMl-id4m99Fy4NwXQ32-jS5F_nE5M0qeJojXquqE5c8kBVUp-DqHG0q0HMHMma3h_hE59cXVTz6HLRfqz6XpEbyuu64ZHcM1g-KjitKV-MMBfdd4b_CtVMQjqeC7qQK9TvKwYvMhLph/s320/11.jpg)
ประเภทของการรำ
การรำแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1 . รำเดี่ยว คือการรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงผู้เดียว เช่นการรำฉุยฉาย เป็นต้น 2. รำคู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ เช่น รำกระบี่กระบอง รำกริช เป็นการรำที่ไม่มีบทร้องใช้ในการสลับฉาก
2.2 การรำคู่ในชุดสวยงาม เช่น พระลอตามไก่ หนุมานจับนางเบญจกาย จะมีคำร้องใช้ท่าทางในการแสดงความหมายนั้นๆ
3. การรำหมู่ เป็นการรำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เช่น รำกลองยาว รำโคม เป็นต้น
นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการละครหรือฟ้อนรำของไทย ที่มีกำเนิดมายาวนานควบคู่กับการพัฒนาการของชนชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งนอกจากจะได้รับความบันเทิงและสุนทรียภาพแล้ว ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของผู้คน ที่สอดแทรกอยู่ในการแสดงชุดนั้น ๆ ด้วย
นอก จากนี้ดนตรีและนาฏศิลป์ไทยยังเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง ตลอดจนมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจนกระทั่งเป็นรูปแบบของดนตรีและนาฏศิลป์ประจำ ชาติโดยเริ่มมีกำเนิดจากธรรมชาติ เลียนแบบจากกิริยาของคนและสัตว์ แล้วนำมาประดิษฐ์ดัดแปลงให้เป็นศิลปะที่งดงามด้วยลีลาท่ารำและเยื้องกรายให้ เข้ากับทำนองดนตรีและเพลงขับร้อง อีกทั้งลักษณะเฉพาะตัวของคนไทย อิทธิพลของสังคมและศาสนา ก็มีส่วนในการสร้างรูปแบบดนตรีและนาฏศิลป์ไทยประจำชาติ การแสดงนาฏศิลป์ไทยถือเป็นสมบัติอันมีค่าของชาติ เป็นสิ่งที่แสดง หรือสะท้อนให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอของคนไทย ซึ่งมีอารมณ์สนุกสนานเบิกบาน มีความเมตตากรุณา มีความกล้าหาญ และ มีความอ่อนโยนละเอียดอ่อน สังเกตได้จากลักษณะการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะมีความอ่อนโยน นิ่มนวล อ่อนช้อย และ สวยงาม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg_IIk0GLvABbWhM958bx1HC7s3DjCxRwJXAfSGQLRV2HDPDdJ3-O60CGi8QnKYKBLJsBKacN3fcddFiQmvPt1B66vszEkb3Yv23f5Ms4iJpEwakUJ0Xer12oLlAXwObuRMp77401kwNiRp/s320/55.jpg)
รายการอ้างอิง http://www.ramthai.ob.tc/ http://student.swu.ac.th/